ปรับตัวรับภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง

Table of Contents
Issue Date

จากการที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ร่วมธนาคารเพื่อพัฒนาเอเชีย (ADB) จัดทำโครงการการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาคเกษตรเพื่อเพิ่มการฟื้นตัวและความยั่งยืนในพื้นที่สูง โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกระทรวงการคลัง ประเทศญี่ปุ่น ผ่านกองทุนเพื่อการลดความยากจนของรัฐบาลญี่ปุ่น 2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) เป็นที่ปรึกษาโครงการ

โดยคัดเลือกพื้นที่เป้าหมายเป็นจุดสาธิตการทำเกษตรบนพื้นที่สูงในพื้นที่ 6 หมู่บ้านของ ต.บัวใหญ่ อ.นาน้อย จ.น่าน เป็นพื้นที่ดำเนินการ เนื่องจากเป็นพื้นที่มีความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งเป็นพื้นที่สูงที่ประสบปัญหาการชะล้างพังทลายของดินและการขาดแคลนน้ำ ซึ่งได้เริ่มต้นดำเนินโครงการมาตั้งแต่ธันวาคม 2563

มีการจัดทำระบบชลประทานพลังงานแสงอาทิตย์ ใช้โซลาร์เซลล์ผลิตไฟฟ้าเพื่อดึงน้ำจากที่ต่ำมาใช้ประโยชน์ ส่งเสริมการใช้ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนในการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรกลับมาใช้ใหม่ ทำปุ๋ยหมักชีวภาพ และถ่านชีวภาพ (Biochar) เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ให้เกษตรกรสร้างเตาเผาถ่านด้วยตนเอง มีการปลูกอะโวคาโด และโกโก้ เป็นพืชทงเลือก

มีการขุดร่องแบบขั้นบันไดเพื่อกักเก็บน้ำที่ไหลจากที่สูง และชะลอการพังทลายของหน้าดิน ตลอดจนการส่งเสริมการทำการเกษตรอินทรีย์โดยใช้ระบบการรับรองมาตรฐานแบบมีส่วนร่วม (PGS)

โดยกำหนดผลผลิตของโครงการไว้ 4 ผลผลิตหลัก ประกอบด้วย 1.เอกสารองค์ความรู้หรือคู่มือในการประเมินความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศบนพื้นที่สูง 2. จุดสาธิต และเอกสารองค์ความรู้เรื่องกระบวนการนำแนวทางเกษตรเท่าทันภูมิอากาศ ที่เหมาะสมไปสู่การปฏิบัติ 3.สร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่มีการสร้างมูลค่าเพิ่มร่วมกับภาคเอกชน และ 4.สามารถเพิ่มขีดความสามารถของส่วนราชการท้องถิ่นและชุมชนเกษตร ในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้.

ADVERTISEMENT

สะ-เล-เต

คลิกอ่าน “หน้ามองฟ้า เท้าหยั่งดิน” เพิ่มเติม

Categories